ความเป็นมาและเหตุผล

        นับจากที่สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) มีเจตนาดีที่จะเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปรีชาญาณของพระองค์ที่ทรงแนะนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ด้วยการจัดทำและเผยแพร่รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550 เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน" เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 เนื่องในพระราชวโรกาสครองราชย์ 60 ปี โดยไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐบาลใดของไทย แต่ก็กลับถูกหนังสือพิมพ์ The Economist กล่าวหาว่าเป็นการสร้างตราสินค้าใหม่จากสินค้าที่มีอยู่เดิมที่มีชื่อว่า ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) หรือเป็นการขโมยงานของทักษิณแล้วไปสวมตราว่าเป็นการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือการตลาดเพื่อลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลเดิม เป็นการยืมมือของ UNDP ไปทำลายรัฐบาลเดิม ซึ่งเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างน่าละอายอย่างยิ่ง

        ประเด็นทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทยนั้น อุปสรรคที่สำคัญอยู่ที่ความเป็นเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ (Economic Globalization) ซึ่งเศรษฐกิจระบบนี้เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั่วโลก โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายที่จะมี การพัฒนาเป็นขั้นตอนและทำให้ผลประโยชน์ตกกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถึงแม้เศรษฐกิจพอเพียงจะไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเผชิญหน้าโดยตรงกับเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ แต่ก็มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ในการสร้างภูมิคุ้มกันมิให้เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์มาทำร้ายเศรษฐกิจฐานรากในประเทศ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่จะเป็นการขัดผลประโยชน์ของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ จำเป็นที่เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ต้องมุ่งที่จะบิดเบือนและทำลายล้างแนวความคิดนี้ สาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลทักษิณในอดีตได้รับการสนับสนุน จากทุนภายนอกประเทศในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เป็นอย่างดีก็เพราะรัฐบาลทักษิณ เป็นเครื่องมือที่ดีและเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกับเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์นั่นเอง 

       ดังนั้นวิธีการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีขั้นตอน และเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นหลักแก้ปัญหาช่องว่างทุกชนิด เป็นต้นว่าช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง และเทคโนโลยีซึ่งเป็นปัญหาของประเทศในปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีการสร้างเครือข่ายและความเข้าใจระหว่างประเทศ พร้อมกับการมียุทธศาสตร์ที่ดีในการดำเนินงานด้วย 

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ 

1. เพื่อเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประเทศต่างๆ ผ่านทางการประสานความ
    ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีระดับประเทศ 

2. เพื่อสร้างเครือข่ายความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีวิธีการ 
    แก้ปัญหาภายในประเทศในแนวทางเดียวกันกับเศรษฐกิจพอเพียง 

แนวทางดำเนินงาน 

         การดำเนินงานจะใช้วิธีศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดที่คล้ายกันในต่างประเทศ เช่น ธนาคารประชาชน (Grameen Bank) ของบังคลาเทศ ขบวนการสรรโวทัยของศรีลังกา ระบบเศรษฐกิจแบบคานธี (Gandhian Economics)  เศรษฐกิจที่ว่าด้วยความสุข (Economics of Happiness) ของภูฏาน เศรษฐกิจอิสลาม (Islamic Economics) ของมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เศรษฐกิจสมานฉันท์ (Solidarity Economy) ของประเทศลาตินอเมริกา และ เศรษฐศาสตร์สีเขียว (Green Economics) ในยุโรป และ เศรษฐศาสตร์มนุษย์นิยม (Humanistic Economics) ตามแนวคิดของ Schumacher ที่มีพื้นฐานอยู่ที่ประเทศอังกฤษและมีเครือข่ายทั่วโลก เป็นต้น แล้วนำความคิดเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและดำเนินการในลักษณะที่เป็นเครือข่าย โดยจะใช้เวลาการดำเนินงานไม่เกิน 180 วัน 

ผลผลิตของโครงการ 

รายงานการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่กล่าวถึง เศรษฐกิจทางเลือกต่างๆ ที่มีการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศ การนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย แนวทางความร่วมมือระหว่างกัน 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

       1.สร้างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่บุคคลสำคัญในระดับสากล
          และสังคมโลก 

       2.สร้างเครือข่ายความเข้าใจระหว่างประเทศเพื่อลดอิทธิพลในทางลบของเศรษฐกิจ โลกา   
          ภิวัตน์ที่จะมีต่อเศรษฐกิจพอเพียง 

       3.เกิดความร่วมมือด้านวิชาการ และโอกาสในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์
         ในประเทศต่างๆ ตามสภาพภูมิประเทศทั้งทางภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์

การจัดทำรายงานการพัฒนาคนของ
ประเทศไทย ปี 2550 "เศรฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน" (UNDP)
   
         

© สงวนลิขสิทธิ์ 2550 สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)